วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ หรือพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาและปรัชญาแวดล้อมประเพณี ความเชื่อและการปฏิบัติหลากหลาย โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา, พระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ และ พระสงฆ์ เป็นชุมชนผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ตลอดจนสืบทอดพระธรรมแห่งศาสนาพุทธ รวมเรียกว่า ไตรรัตน์ (พระรัตนตรัย) "สรณคมน์ในไตรรัตน์" (taking refuge in the triple gem) เดิมเคยเป็นการแสดงและข้อผูกมัดแห่งวิถีพุทธ และเป็นความแตกต่างทั่วไประหว่างชาวพุทธกับศาสนิกชนอื่น
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเองเพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์ มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด
พระศาสดาของศาสนาพุทธคือพระโคตมพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก   ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของ นิกายเถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธ แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ นิกายมหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง บ้างก็จัดว่า วัชรยาน เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน แต่การจัดมากกว่านั้นก็มี หลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ
ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก หากนับจำนวนรวมกันแล้วประมาณ 700 ล้านคน ด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล

วันพ่อแห่งชาติ

             วันพ่อแห่งชาติ                    
5 ธันวาคม ของทุกปี



                                                      ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ
      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
                                       หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ      โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและ สังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น วันพ่อแห่งชาติ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลาน เธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น พ่อ ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อ ควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน พระคือบิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพรลุ 5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ คือองค์อดิเรก พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติ ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป
ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ


           คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ดอกพุทธรักษาดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์
วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาติ
1. ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์หรือทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลและระลึกถึงพระคุณพ่อ
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมยกย่องผู้ที่ สมควร ได้รับการยกย่องว่าเป็นพ่อ ตัวอย่าง
สำหรับคุณสมบัติของพ่อตัวอย่าง คณะกรรมการได้กำหนดไว้ดังนี้
1. มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
2. ส่งเสริมการศึกษาแกบุตรและธิดา
3. นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด
4. งดเว้นอบายมุขทุกชนิด
5. อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน
6. มีภรรยาเพียงคนเดียว
หน้าที่ของบิดา มารดาพึงมีต่อบุตร
  • ห้ามมิให้ทำความชั่ว – ป้องกัน, ห้ามปราม มิให้ประพฤติเสียหาย
  • ให้ตั้งอยู่ในความดี – ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง
  • ให้ศึกษาศิลปวิทยา – ส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งคดีโลก และคดีธรรม
  • หาคู่ครองที่สมควรให้ – เลือกคู่ครองที่คู่ควร, เหมาะสมให้ในเวลาอันเหมาะสม
  • มอบทรัพย์สมบัติให้ดูแลเมื่อถึงเวลาอันสมควร – มอบภาระหน้าที่การงานให้บริหาร และมอบมรดกให้ครอบครอง
หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา
  • เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน – เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
  • ช่วยทำกิจการงานของท่าน – ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
  • ดำรงวงศ์ตระกูล – ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
  • ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรดก – ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
  • ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ – ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พังทลาย
วันที่ 5 ธันวาคม นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น วันชาติของไทย อีกด้วย

นายกหญิงคนแรกของไทย



นายกหญิงคนแรกของไทย




  กลายเป็นผู้หญิงที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในแวดวงการเมืองขณะนี้ สำหรับ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" น้องสาวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ ส.ส.บางส่วนในพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ขึ้นมาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยสู้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ โดยชูจุดขายความเป็นสายเลือดแท้ ๆ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ พร้อมกับยกให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็น "นารีขี่ม้าขาว"
และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย ก่อนที่จะเธอจะนำลูกทีมเดินหน้าหาเสียงเลือกตั้ง กระทั่ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พรรคเพื่อไทยสามารถเอาชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ไปได้ด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย ก่อนที่เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย และถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

เพราะฉะนั้น วันนี้ เราไปทำความรู้จักกับผู้หญิงที่ชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยกันดีกว่าค่ะ
สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีชื่อเล่นว่า ปู ปัจจุบันอายุ 43 ปี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนบุตร 9 คนของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร และเป็นน้องสาวแท้ ๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยาของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
        
            นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมรสแล้วโดยไม่ได้จดทะเบียนกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร หรือ ป๊อบ เมื่อปี พ.ศ.2538 ซึ่งนายอนุสรณ์ อมรฉัตร นั้น เป็นอดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี และปัจจุบันเป็นกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ พี่สาวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือน้องไปป์ ปัจจุบันอายุ 9 ปี

อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีของนางสาวยิ่งลักษณ์เองนั้น เคยถูกดึงไปเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเอง เมื่อครั้งที่บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งนายอนุสรณ์ อมรฉัตร เป็นผู้บริหารอยู่ได้ร่วมประมูลโครงการด้านการสื่อสาร และอินดัสเทรียล ปาร์ค ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ.2547-2549 จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูว่า การประมูลครั้งนั้นไม่โปร่งใส



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

              กลับมาที่ประวัติด้านการศึกษาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เธอร่ำเรียนในสายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมาโดยตรง เพราะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2533

                หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เข้าทำงานในบริษัทชินวัตร ไดเร็กทอรีส์ จำกัด ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้อำนวยการของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด

     อย่างไรก็ตาม หลังจากตระกูลชินวัตร และตระกูลดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้กลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของประเทศสิงคโปร์ ก็ทำให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด


           สำหรับเส้นทางสายการเมืองของน้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ ชื่อของเธอปรากฏขึ้นมาครั้งหนึ่งในครั้งที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบนำไปสู่การตั้งพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พยายามผลักดัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่เพราะมีเหตุบางประการทำให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เข้ารับตำแหน่งนี้ แต่เธอก็ยังมีบทบาททั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในพรรคเพื่อไทย

           จนกระทั่งปัจจุบันพรรคเพื่อไทยซึ่งไร้หัวหน้า (ตัวจริง) เหมือน "เรือขาดหางเสือ" ต้องเร่งหาผู้นำ ดังนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ ส.ส.อีกหลายคนในพรรคเพื่อไทย จึงได้เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคเพื่อไทย สู้กับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ แคนดิเดตของพรรคเพื่อไทยอีกคน จนทำให้ ส.ส.ในพรรคแตกเป็นสองสายอย่างชัดเจน เนื่องจากมี ส.ส.อีกส่วนสนับสนุนนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์เช่นกัน

          และภายใต้การนำทีมของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ส่งให้พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย และเธอกำลังจะกลายเป็นสุภาพสตรีที่คนไทยและคนทั่วโลกต้องจับตามองอย่างแน่นอน
          สำหรับใครที่อยากติดตามความเคลื่อนไหวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรืออยากจะสื่อสารกับนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ก็สามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอีกหนึ่งช่องทางคือ ทวิตเตอร์ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

















วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

5 สถานที่สำคัญแหล่งมรดกโลกในไทย


5 สถานที่สำคัญแหล่งมรดกโลกในไทย 

ารขึ้นทะเบียนมรดกโลกคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การ ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้มีการคัดเลือกและขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเชิดชูคุณค่าของแหล่งมรดกโลก ซึ่งมีทั้งธรรมชาติสร้างขึ้น และ ที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้น เพื่อปกป้องรักษาให้ดำรงคงอยู่เป็นมรดกแห่งมวลมนุษยชาติต่อไป


    ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2530 และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลกมาแล้ว 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี 2532 - 2538  ครั้งที่ 2 ระหว่างปี 2540 - 2546  และครั้งล่าสุดระหว่างปี  2552 - 2556 ขณะที่ประเทศไทย มีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วถึง 5 แห่งด้วยกัน ทั้งแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
โดยแห่งแรก คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ซึ่งมีความรุ่งเรืองในอดีตช่วงใกล้เคียงกันอาณาจักรสุโขทัยถือเป็นราชธานี แห่งแรกของไทย เป็นศูนย์กลางความเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยมีคุณสมบัติ คือ เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาด ของมนุษย์ และ เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
ลำดับที่ 2 คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาราชธานีเก่าแก่ของไทยที่มีความเจริญ รุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี แม้ว่าภายหลังจะถูกทำลายลงจากภัยสงคราม แต่ยังคงเหลือโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญ รุ่งเรือง และ ความมีอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษของชาวกรุงศรีอยุธยา
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก โลก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 โดยมีคุณสมบัติ คือ เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
ลำดับที่ 3 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตของผู้คนยุคก่อนประวัติ ศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า 4,300 ปี ซึ่งมีวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะภูมิปัญญาในการดำรงชีวิต
 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงนั้น ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวัน-ออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีก่อน องค์การยูเนสโก จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2535 จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีคุณสมบัติ คือ เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ใน ปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
ลำดับที่ 4 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งผืนป่าอันยิ่งใหญ่และมี ชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ 3 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 6,000 ตารางกิโลเมตร หรือ กว่า 3,800,000 ไร่ อยู่ภายในเขต จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก และ จังหวัดกาญจนบุรี
 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2534 และเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก โดยมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ คือ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัด ในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงาม เป็นพิเศษ และ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือ ที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจด้วย
 และสุดท้าย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัดคือ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่ป่ารวมกันเกือบ 4,00,000 ไร่ หรือ ประมาณ 6,200 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติ ในข้อที่ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่ว โลกให้ความสนใจ